ความรู้ภาษีป้าย ประจำปี 2565
โพสต์เมื่อ :20 มกราคม 2565

"ภาษีป้าย"   คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายโฆษณาสินค้าต่าง ๆ  เช่น ป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้า  หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือ โลโก้บนวัตถุต่าง ๆ  ที่ประกอบด้วยอักษร ภาพ ไม่ว่าจะเป็นป้ายทั่วไป ป้ายบนทางด่วน ป้ายผ้าใบ รวมถึงป้ายไฟที่ใช้เพื่อหารายได้ หรือ การโฆษณา  โดยผู้ที่เป็นเจ้าของป้ายที่นำมาติดจะต้องเป็นผู้ที่เสียภาษีป้าย  แม้จะเป็นป้ายขนาดเล็ก  หรือเป็นป้ายผ้าใบขนาดใหญ่  ก็ต้องเสียภาษีป้าย ทั้ง 2 แบบ

ในกรณีที่ไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย  หรือเจ้าหน้าที่ไม่สามารถหาเจ้าของป้ายได้  ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้น  เป็นผู้เสียภาษี  หรือถ้าหากไม่สามารถหาตัวผู้ครอบครองป้ายได้  หากป้ายติดอยู่ที่ไหน  เช่น หน้าอาคาร  บนที่ดินที่ติดตั้ง  ให้ถือว่าเจ้าของสถานที่นั้น ๆ  เป็นเจ้าของป้าย  และมีหน้าที่เสียภาษีป้าย

ทั้งนี้  อาจเห็นได้ว่า  ป้ายที่ผู้เป็นเจ้าของป้ายต้องเสียนั้น  ยังมีอีกหลายสถานที่และหลายลักษณะที่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่ต้องเสียภาษี  โดยกฎกระทรวงได้มีข้อยกเว้นไม่เก็บภาษีป้ายที่ติดตามพื้นที่ต่าง ๆ  สำหรับป้ายที่มีเข้าข่าย ดังนี้

1. ป้ายที่ติดในอาคาร

2. ป้ายที่มีล้อเลื่อน (ต้องมีการเลื้อนป้ายเข้าออก)

3. ป้ายตามงานอีเวนท์ที่จัดเป็นครั้งคราว

4. ป้ายของทางราชการ

5. ป้ายของโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชน

6. ป้ายวัด  สมาคม มูลนิธิ

7. ป้ายที่ติดหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์

8. ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจากข้อ 7. โดยมีพื่นที่ไม่เกิน 500 ตร.ซม. และอื่น ๆ  ตามม พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 กำหนด

อัตราภาษีป้ายตามเกณฑ์ใหม่

เนื่องจากภาษีป้ายได้มีกำหนดใช้มายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ.2535  ปัจจุบันได้มีการอัพเดทอัตราภาษีป้ายใหม่  เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.2564  โดยกฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้ายไว้ดังนี้

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/098/T_0018.PDF

เอกสารแนบ :