การบริหารจัดการขยะในครัวเรือนโดยประชาชนมีส่วนร่วม

สรุปผลการดำเนินการเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วม

ในการดำเนินงานของเทศบาลตำบลเชิงแส

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.  2568

-------------------

                   ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  เทศบาลตำบลเชิงแสได้จัดประชาคมหมู่บ้าน เพื่อบริหารจัดการขยะโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

ประเด็น/เรื่องในการมีส่วนร่วม เสนอกิจกรรม/โครงการบริหารจัดการและการคัดแยกขยะโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม  

หมู่ที่ 1เมื่อวันที่5มกราคม2568ณบ้านเขาใน

หมู่ที่ 2เมื่อวันที่7มกราคม2568ณศาลาเอนกประสงค์บ้านรัดปูน

หมู่ที่ 3เมื่อวันที่6มกราคม2568ณ วัดเชิงแสใต้

หมู่ที่ 4เมื่อวันที่8มกราคม2568ณศาลากลางบ้าน

สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

หมู่ที่ 1ผู้เข้าร่วมประชุม ประมาณ30ครัวเรือน

หมู่ที่ 2ผู้เข้าร่วมประชุม ประมาณ50ครัวเรือน

หมู่ที่ 3ผู้เข้าร่วมประชุม ประมาณ50ครัวเรือน

หมู่ที่ 4ผู้เข้าร่วมประชุม ประมาณ60ครัวเรือน

3. ผลจากการมีส่วนร่วม

   1.  ประชาชนร่วมกันเสนอแนวทางการจัดการขยะและแนวทางในการบริหารจัดการธนาคารขยะ

2.  ประชาชนในพื้นที่ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมกันแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานให้บรรลุตาม

     วัตถุประสงค์ที่วางไว้  โดยสรุปผลได้ดังนี้

ขยะอินทรีย์ หมายถึง เศษอาหาร วัสดุและสิ่งเหลือใช้ที่เกิดขึ้นภายในครัวเรือน

ขยะทั่วไป หมายถึง ขยะที่ไม่ต้องการนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก เช่น  ถุงพลาสติก ฯลฯ

ขยะรีไซเคิล หมายถึง วัสดุและสิ่งเหลือใช้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ หรือแปรรูปได้อีก เช่น กระดาษ ภาชนะ พลาสติก กระป๋อง ขวดแก้ว ฯลฯ

ขยะอันตราย หมายถึง ขยะ/สิ่งเหลือใช้ที่สามารถก่ออันตรายต่อสุขภาพ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เศษตะกั่ว ยา ผงหมึก ฯลฯ

            การบริหารจัดการขยะ

ขยะอินทรีย์    กำจัดโดยทำปุ๋ยหมัก   ใส่ถังหมักที่เทศบาลแจกจ่ายให้หรือเป็นอาหารสัตว์

ขยะทั่วไป    เนื่องจากเทศบาลไม่มีรถเก็บขนขยะ  จึงลดขยะทั่วไปให้เหลือน้อยที่สุด

                และให้เผาในที่โล่งแจ้ง   

ขยะรีไซเคิล   รวบรวมขายให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อนำรายได้มาจุนเจือครอบครัว หรือบริจาคเป็นขยะบุญ

ขยะอันตราย   รวบรวมใส่ในถังขยะอันตรายที่เทศบาลจัดเตรียมไว้ให้ทุกหมู่บ้าน

3. เทศบาลจะลงพื้นที่ทวนสอบการบริหารจัดการขยะครัวเรือนปีละ 1 ครั้ง

 

4.  การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน

                   เทศบาลนำปัญหา ข้อเสนอแนะ และความต้องการของประชาชนนำเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไข  และบรรจุเข้าแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชน